วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย


ลักษณะของคำภาษาบาลีและสันสกฤตที่ใช้ในภาษาไทย
ลักษณะของภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตอยู่ในตระกูลภาษาที่มีวิภัตปัจจัย  คือเป็นภาษาที่ที่มีคำเดิมเป็นคำธาตุ  เมื่อจะใช้คำใดจะต้องนำธาตุไปประกอบกับปัจจัยและวิภัตติ  เพื่อเป็นเครื่องหมายบอกพจน์ ลิงค์ บุรุษ กาล มาลา วาจก   โครงสร้างของภาษาประกอบด้วย ระบบเสียง หน่วยคำ และระบบโครงสร้างของประโยค  ภาษาบาลีและสันสกฤตมีหน่วยเสียง 2 ประเภท คือ หน่วยเสียงสระและหน่วยเสียงพยัญชนะ ดังนี้
1.      หน่วยเสียงสระ
หน่วยเสียงสระภาษาบาลีมี 8 หน่วยเสียง  คือ  อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ
หน่วยเสียงภาษาสันสกฤต ตรงกับภาษาบาลี 8 หน่วยเสียง และต่างจากภาษาบาลีอีก 6 หน่วยเสียง เป็น 14 หน่วยเสียง คือ อะ อา  อิ อี  อุ อู  เอ โอ   ไอ เอา ฤ ฤา ฦ ฦๅ
2.      หน่วยเสียงพยัญชนะ
หน่วยเสียงพยัญชนะภาษาบาลีมี 33 หน่วยเสียง  ภาษาสันสกฤตมี 35 หน่วยเสียง เพิ่มหน่วยเสียง ศ ษ  ซึ่งหน่วยเสียงพยัญชนะทั้งสองภาษานี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ  พยัญชนะวรรค และพยัญชนะเศษวรรค
วิธีสังเกตคำบาลี  
1.      สังเกตจากพยัญชนะตัวสะกดและตัวตาม
ตัวสะกด คือ  พยัญชนะที่ประกอบอยู่ข้างท้ายสระ ประสมกับสระและพยัญชนะต้น เช่น ทุกข์ (ก = ตัวสะกด)
ตัวตาม คือ ตัวที่ตามหลังตัวสะกด เช่น สัตย สัจจ ทุกข เป็นต้น   คำในภาษาบาลี จะต้องมีสะกดและตัวตามเสมอ โดยดูจากพยัญชนะบาลี มี 33 ตัว แบ่งออกเป็นวรรคดังนี้    
แถวที่
1
2
3
4
5
วรรค กะ
วรรค จะ
วรรค ฏะ
วรรค ตะ
วรรค ปะ
เศษวรรค
ย ร ล ว ส ห ฬ อํ
มีหลักสังเกตตัวสะกดดังนี้
1.      พยัญชนะตัวที่ 1 , 3 , 5 เป็นตัวสะกดได้เท่านั้น (ต้องอยู่ในวรรคเดียวกัน)
2.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 1 สะกด ตัวที่ 1 หรือตัวที่ 2 เป็นตัวตามได้ เช่น สักกะ ทุกข สัจจ  ปัจฉิม สัตต หัตถ บุปผา เป็นต้น
3.      ถ้าพยัญชนะตัวที่ 3 สะกด ตัวที่ 3 หรือ 4 เป็นตัวตามได้ในวรรคเดียวกัน เช่น  อัคคี พยัคฆ์ วิชชา อัชฌา พุทธ คัพภ (ครรภ์)
ง. ถ้าพยัญชนะตัวที่ 5 สะกด ทุกตัวในวรรคเดียวกันตามได้ เช่น องค์ สังข์ องค์ สงฆ์ สัมปทาน สัมผัส สัมพันธ์ สมภาร เป็นต้น
จ. พยัญชนะบาลี ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ในวรรคเดียวกันเท่านั้นจะข้ามไปวรรคอื่นไม่ได้
2. สังเกตจากพยัญชนะ ” จะมีใช้ในภาษาบาลีในไทยเท่านั้น เช่น จุฬา ครุฬ อาสาฬห์ วิฬาร์ โอฬาร์ พาฬ เป็นต้น
3. สังเกตจากตัวตามในภาษาบาลี จะมาเป็นตัวสะกดในภาษาไทยโดยเฉพาะวรรค ฎ และวรรคอื่น ๆ บางตัว จะตัดตัวสะกดออกเหลือแต่ตัวตามเมื่อนำมาใช้ในภาษาไทย เช่น
บาลี
ไทย

บาลี
ไทย
รัฎฐ
รัฐ

อัฎฐิ
อัฐิ
ทิฎฐิ
ทิฐิ

วัฑฒนะ
วัฒนะ
ปุญญ
บุญ

วิชชา
วิชา
สัตต
สัต

เวชช
เวช
กิจจ
กิจ

เขตต
เขต
นิสสิต
นิสิต

นิสสัย
นิสัย
ยกเว้นคำโบราณที่นำมาใช้แล้วไม่ตัดรูปคำซ้ำออก เช่น ศัพท์ทางศาสนา ได้แก่ วิปัสสนา จิตตวิสุทธิ์ กิจจะลักษณะ เป็นต้น
วิธีสังเกตคำสันสกฤต มีดังนี้
1.      พยัญชนะสันกฤต มี 35 ตัว คือ พยัญชนะบาลี 33 ตัว + 2 ตัว คือ ศ,
ฉะนั้นจึงสังเกตจากตัว ศ, ษ มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น กษัตริย์ ศึกษา เกษียร พฤกษ์ ศีรษะ เป็นต้น   ยกเว้นคำไทยบางคำที่ใช้เขียนด้วยพยัญชนะทั้ง 2 ตัวนี้ เช่น ศอก ศึก ศอ เศร้า ศก ดาษ กระดาษ ฝรั่งเศส ฝีดาษ ฯลฯ
2.      ไม่มีหลักการสะกดแน่นอน   ภาษาสันสกฤต ตัวสะกดตัวตามจะอยู่ข้ามวรรคกันได้ ไม่กำหนดตายตัว เช่น อัปสร เกษตร ปรัชญา อักษร เป็นต้น
3.      สังเกตจากสระ   สระในภาษาบาลี มี 8 ตัว คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
ส่วนสันสกฤต คือ สระภาษาบาลี 8 ตัว + เพิ่มอีก 6 ตัว คือ สระ ฤ ฤา ภ ภา ไอ เอา
ถ้ามีสระเหล่านี้อยู่และสะกดไม่ตรงตามมาตราจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น ตฤณมัย ไอศวรรย์ เสาร์ ไปรษณีย์ ฤาษี คฤหาสน์ เป็นต้น
4.      สังเกตจากพยัญชนะควบกล้ำ ภาษาสันสกฤตมักจะมีคำควบกล้ำข้างท้าย เช่น จักร อัคร บุตร สตรี ศาสตร์ อาทิตย์ จันทร์ เป็นต้น
5.      สังเกตจากคำที่มีคำว่า เคราะห์มักจะเป็นภาษาสันสกฤต เช่น เคราะห์ พิเคราะห์ สังเคราะห์ อนุเคราะห์ เป็นต้น
6.      สังเกตจากคำที่มี  อยู่ เช่น จุฑา กรีฑา ครุฑ มณเทียร จัณฑาล เป็นต้น
7.      สังเกตจากคำที่มี รร อยู่ เช่น สรรค์ ธรรม์ วรรณ บรรพต ภรรยา บรรณารักษ์ มรรยาท กรรม ทรรศนะ สรรพ เป็นต้น
ลักษณะการยืมคำภาษาบาลีและสันสกฤต
ภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นภาษาตระกูลเดียวกัน  ลักษณะภาษาและโครงสร้างอย่างเดียวกัน ไทยเรารับภาษาทั้งสองมาใช้ พิจารณาได้ดังนี้
1. ถ้าคำภาษาบาลีและสันสกฤตรูปร่างต่างกัน  เมื่อออกเสียงเป็นภาษาไทยแล้วได้เสียงเสียงตรงกัน เรามักเลือกใช้รูปคำสันสกฤต  เพราะภาษาสันสกฤตเข้ามาสู่ภาษาไทยก่อนภาษาบาลี เราจึงคุ้นกว่า  เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
กมฺม
กรฺม
กรรม
จกฺก
จกฺร
จักร
2. ถ้าเสียงต่างกันเล็กน้อยแต่ออกเสียงสะดวกทั้งสองภาษา มักเลือกใช้รูปภาษาสันสกฤตมากกว่าภาษาบาลี เพราะเราคุ้นกว่าและเสียงไพเราะกว่า เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ครุฬ
ครุฑ
ครุฑ
โสตฺถิ
สฺวสฺติ
สวัสดี
3. คำใดรูปสันสกฤตออกเสียงยาก  ภาษาบาลีออกเสียงสะดวกกว่า จะเลือกใช้ภาษาบาลี เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ขนฺติ
กฺษานฺติ
ขันติ
ปจฺจย
ปฺรตฺย
ปัจจัย
4. รูปคำภาษาบาลีสันสกฤตออกเสียงต่างกันเล็กน้อย แต่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรานำมาใช้ทั้งสองรูปในความหมายเดียวกัน เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
กณฺหา
กฺฤษฺณา
กัณหา, กฤษณา
ขตฺติย
กฺษตฺริย
ขัตติยะ, กษัตริย์
5. คำภาษาบาลีสันสกฤตที่ออกเสียงสะดวกทั้งคู่  บางทีเรายืมมาใช้ทั้งสองรูป   แต่นำมาใช้ในความหมายที่ต่างกัน เช่น
บาลี
สันสกฤต
ไทย
ความหมาย
กิริยา
กฺริยา
กิริยา
อาการของคน


กริยา
ชนิดของคำ
โทส
เทฺวษ
โทสะ
ความโกรธ


เทวษ
ความเศร้าโศก

หลักการสังเกตคำภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทย

ตารางเปรียบเทียบภาษาบาลี สันสกฤต

ภาษาบาลี
ภาษาสันสกฤต
1. สระมี 8 ตัว  คือ  อะ  อา  อิ  อี  อุ  อู  เอ  โอ
1. สระมี 14 ตัว  เพิ่มจากบาลี 6 ตัว  คือ    ฤๅ    ฦๅ  ไอ  เอา  (แสดงว่าคำที่มีสระ 6 ตัวนี้จะเป็นบาลีไม่ได้เด็ดขาด)
2. มีพยัญชนะ  33 ตัว  (พยัญชนะวรรค)
2. มีพยัญชนะ 35 ตัว  เพิ่มจากภาษาบาลี 2 ตัว  คือ  ศ ษ  (แสดงว่าคำที่มี  ศ ษ  เป็นภาษาสันสกฤต  *ยกเว้น  ศอก  ศึก  เศิก  โศก  เศร้า  เป็นภาษาไทยแท้)
3. มีตัวสะกดตัวตามแน่นอน  เช่น  กัญญา  จักขุ  ทักขิณะ  ปุจฉา 
อัณณพ  คัมภีร์  เป็นต้น
3. มีตัวสะกดและตัวตามไม่แน่นอน  เช่น  กันยา  จักษุ  ทักษิณ  ปฤจฉา  วิทยุ 
อัธยาศัย  เป็นต้น
4. นิยมใช้    เช่น  กีฬา  จุฬา  ครุฬ  เป็นต้น  (จำว่า กีฬา-บาลี)
4. นิยมใช้    เช่น  กรีฑา  จุฑา  ครุฑ  (จำว่า  กรีฑา-สันสกฤต)
5. ไม่นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น 
ปฐม  มัจฉา  สามี  มิต  ฐาน  ปทุม  ถาวร  เปม  กิริยา  เป็นต้น
5. นิยมควบกล้ำและอักษรนำ  เช่น ประถม มัตสยา สวามี  มิตร  สถาน  ประทุม  สถาวร  เปรม  กริยา  เป็นต้น
6. นิยมใช้  "ริ"  เช่น  ภริยา  จริยา  อัจฉริยะ  เป็นต้น
6. นิยมใช้  รร  (รอหัน)  เช่น  ภรรยา  จรรยา  อัศจรรย์  เป็นต้น เนื่องจากแผลงมาจาก  รฺ  (ร เรผะ)  เช่น  วรฺณ = วรรณ
ธรฺม = ธรรม    * ยกเว้น  บรร  เป็นคำเขมร
7.  นิยมใช้ ณ นำหน้าวรรคฏะ  เช่น  มณฑล  ภัณฑ์
หรือ    นำหน้า ห  เช่น  กัณหา  ตัณหา
7.นิยม  "เคราะห์"  เช่น  วิเคราะห์  สังเคราะห์  อนุเคราะห์ 
 เป็นต้น

เรื่องน่ารู้
1.      ถ้าพยัญชนะ "ส" นำหน้า วรรค ตะ   คำนั้นจะมาจากภาษาสันสกฤต  เช่น  สถาพร  สถาน  สถิต  เป็นต้น
2.      พยัญชนะเศษวรรคในภาษาบาลีที่ใช้เป็นตัวสะกดได้  มี  5  ตัว  คือ            เช่น  อัยยิกา  คุยห  มัลลิกา  กัลยาณ  ชิวหา  อาสาฬห  ภัสตา  มัสสุ  เป็นต้น
3.      พยัญชนะเศษวรรคในภาษาสันสกฤตคล้ายภาษาบาลี  แต่มีตัวสะกดเพิ่ม  อีก 2 ตัว  คือ  ศ ษ เช่น  ราษฎร  ทฤษฎี  พฤศจิกายน  เป็นต้น
ข้อควรจำ  ถ้าคำใดมีตัวอักษรซ้ำกัน  เป็นคำภาษาบาลีแน่นอน  เช่น  ปัญญา อัคคี นิพพาน เมตตา บัลลังก์ ฯลฯ

ไม่มีความคิดเห็น: