วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะของคำไทยแท้


ลักษณะของคำไทยแท้    
ลักษณะของคำไทยแท้     คำไทยแท้ เป็นคำที่มีใช้ดั้งเดิมอยู่ในภาษาไทย คำไทยแท้มีลักษณะสำคัญที่เป็นเอกลักษณ์   ของตัวเองที่ไม่มีใครเหมือนและไม่เหมือนใคร และมีหลักในการี่สังเกตที่ตายตัวทำให้เราสามารถแยกแยะวิเคราะห์   ได้ว่าคำไทยแท้นั้นมีลักษณะอย่างไร ้ มีหลักกาสังเกตดังนี้   
๑.      เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล
เช่น พ่อ,แม่,เขย,ลุง,พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง,จะ,แล้ว,เพิ่ง,เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล(เวลา)ในตัว

๒.     คำไทยแท้มีพยางค์เดียว   
คำไทยแท้มักคำพยางค์มีพยางค์เดียว  และมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง  เมื่อฟังแล้วสามารถเข้าใจได้ทันที   เช่น   คำใช้เรียกเครือญาติ    พ่อ    แม่   พี่   น้อง   ป้า   อา   ลุง   ฯลฯ    คำใช้เรียกชื่อสัตว์       ช้าง   ม้า    วัว    ควาย   หมู  กา   ไก่   นก   ฯลฯ    คำใช้เรียกธรรมชาติ    ดิน   น้ำ   ลม   ไฟ   อุ่น   เย็น   ร้อน   ฯลฯ      คำใช้เรียกเครื่องใช้     มีด   เขียง   เตียง    ตู้   ครก   ไห   ช้อน  ฯลฯ       
๓.      คำไทยแท้มีตัวสะกดตรงตามมาตรา    
ลักษณะการสังเกตคำไทยแท้อีกประการหนึ่ง  คือ  คำไทยแท้มักมีตัวสะกดตรงตามมาตรา  กล่าวคือ  อักษรที่นำมาเขียนเป็นตัวสะกดจะตรงตามกับมาตราตัวสะกด  เช่น   แม่กด  ใช้  ด  สะกด  เป็นต้น        
๑) แม่กก  มาตราแม่กก  ใช้  ก  เป็นตัวสะกด  เช่นรัก     ฉาก     จิก     ปีก     จุก   ลูก     โบก    ตัก    เด็ก     เปียก  ฯลฯ 
๒) แม่กด  มาตราแม่กด  ใช้  ด  เป็นตัวสะกด  เช่นคด     จุด     เช็ด   แปด     อวด     เบียด     ปูด     เลือด     กวด     ราด  ฯลฯ 
๓) แม่กบ มาตราแม่กบ  ใช้  บ  เป็นตัวสะกด  เช่นจับ     ชอบ     ซูบ     ดาบ     เล็บ     โอบ     เสียบ     เกือบ     ลบ    สิบ ฯลฯ 
๔) แม่กง   มาตราแม่กง  ใช้  ง  เป็นตัวสะกด  เช่นขัง    วาง     ปิ้ง     ซึ่ง     งง     โยง     เล็ง     กรง     ถุง     ดอง   ฯลฯ 
๕) แม่กน   มาตราแม่กน  ใช้  น  เป็นตัวสะกด  เช่นคัน     ขึ้น     ฉุน     แบน     ล้วน     จาน     เส้น     โล้น     กิน   ฯลฯ 
๖) แม่กม   มาตราแม่กม  ใช้  ม  เป็นตัวสะกด  เช่นจาม     อิ่ม     ซ้อม     เต็ม     ท้วม     ตุ่น     เสียม      แก้ม     สาม    ล้ม  ฯลฯ
  ๗) แม่เกย   มาตราแม่เกย  ใช้  ย  เป็นตัวสะกด  เช่นชาย     ขาย    เคย     โกย     คุ้ย     คอย     เย้ย     รวย     เมื่อย     สาย    ตาย  ฯลฯ  
๘) แม่เกอว    มาตราแม่เกอว  ใช้  ว  เป็นตัวสะกด  เช่นข้าว     คิ้ว     เหว     แก้ว     เลี้ยว     เปลว     เร็ว    หนาว     นิ้ว     สาว  ฯลฯ 
๔. คำไทยแท้ไม่มีการเปลี่ยนรูปคำ เพื่อแสดงลักษณะทางไวยากรณ์   
คำในภาษาอื่นๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อลักษณะทางไวยากรณ์ เพื่อบอกเพศ   พจน์   กาล   ขณะที่ในภาษาไทยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ  แต่จะอาศัยการใช้คำขยาย  มาประกอบ  เช่น    นก         นกตัวผู้    (แสดงเพศชาย)    สุนัข    สุนัขตัวเมีย   (แสดงเพศหญิง) คน   คนเดียว  (แสดงเอกพจน์)พวกเรา  หลายคน    (แสดงพหูพจน์)     
๕.คำไทยแท้มีรูปวรรณยุกต์กำกับ 
คำไทยแท้มีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ เพื่อให้เกิดเสียงต่างชั้น ทำให้คำมีความหมายมากขึ้นด้วย ซึ่งทำให้มีคำใช้มากขึ้น เช่น
ปา       >   ขว้าง                                     ขาว   >   ชื่อสีชนิดหนึ่ง
ป้า       >   พี่สาวของแม่                           ข้าว   >   อาหารประเภทหนึ่ง,  
ฝาย     >   สิ่งก่อสร้างคล้าย -เขื่อน               เสือ   >    สัตว์ชนิดหนึ่ง,
ฝ้าย     >   ผ้าฝ่าย                                   เสื้อ   >   ของใช้สำหรับสวมใส่ 
ขา       >   อวัยวะ                                  คา    >    หญ้าคา
ข้า       >   สรรพนาม                              ค้า    >   การค้า

มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงต่างกัน,มีคำใช้กันมากขึ้น ,เกิดความไพเราะดังเสียงดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง
เช่น โฮ่งๆ,กุ๊กๆ,เจี๊ยบๆ,ฉ่าๆ,ตุ้มๆ, วรรณยุกต์สร้างคำเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง
นอง,น่อง,น้อง ;ไร,ไร่,ไร้ วรรณยุกต์ทำให้มีเสียงต่างกัน

๕.คำไทยแท้มีลักษณะนามใช้ 
ลักษณะนามเป็นนามที่บอกลักษณะของนามที่อยู่ข้างหน้า  ซึ่งในภาษาไทยจะใช้คำเหล่านี้แตกต่างจากภาษาอื่นชัดจน  เช่น       
ลักษณะนามบอกชนิด  เช่น  หนังสือ  ๒  เล่ม  พระภิกษุ  ๕  รูป  
ลักษณะนามบอกอาการ  เช่น พลู     จีบ    ดอกไม้   ๓  ดอก   
ลักษณะนามบอกรูปร่างเช่น แหวน  ๑  วง   ดินสอ   ๒  แท่ง   ฟุตบอล   ๓  ลูก    เสา      ต้น  
ลักษณะนามบอกปริมาณ  เช่น บุหรี่      มวน  ขนมจีบ  ๕  จับ  ใบลาน    ผูก  ทองหยิบ   ๒   หยิบ
ลักษณะนามบอกความจำแนก   เช่น  ลูกเสือ  ๒  กอง  ทหาร     เหล่า  
๖. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้ตัวการันต์ 
ลักษณะของตัวการันต์ มักเป็นคำที่ยืมมาจากภาษาต่างประเทศ  เพราะในภาษาไทยจะไม่นิยมใช้ตัวการันต์   เช่น  โล่ เสา  อิน จัน วัน เท่ กา ขาด ปา จัก รัน เงา เฝ้า โบ
๗. คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัวที่เขียนยาก   
คำไทยแท้ไม่นิยมใช้พยัญชนะบางตัว   เช่น   ฆ  ณ  ญ  ฎ  ฏ  ฐ  ฑ  ฒ   ฌ  ธ            และสระ  ฤ   ฤา             
ยกเว้นคำไทยแท้บางคำ   ดังนี้เฆี่ยน ฆ่า ฆ้อง ระฆัง หญิง ศึก ใหญ่ ณ ธ เธอ  ศอก อำเภอ
๘. มีหลักในการใช้ ไ      
คำที่ออกเสียง  อัย   ใช้รูปไม้ม้วน  (ใ ) มีใช้ในคำไทยเพียง  ๒๐  คำเท่านั้น   ได้แก่  ใหญ่   ใหม่  ( สะ ) ใภ้   ใช้  ใฝ่  ใจ  ใส่  (หลง ) ใหล  ใคร  ใคร่  ใบ  ใส  ใด  ใน  ใช่  ใต้  ใบ้  ใย ใกล้  ให้   นอกนั้นใช้ไม้มลาย  เช่น  ไจ  ไกล  ไส้  ไป  ไข  ไอ  ฯลฯ  แต่คำที่ใช้ไม้มลายประกอบ  ย  (ไ-ย )
และไม้หันอากาศ  ประกอบ  ย  (อัย   มักเป็นคำไทยที่มาจากภาษาอื่น เช่น ไวยากรณ์ มาลัย ไตร  อสงไขย   เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น: