วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
ทั้งภาษาตะวันออกและภาษาตะวันตก   เข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  การรับคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้สื่อสาร ในภาษาไทย และคนไทยได้เรียน ภาษาต่างประเทศตรงมากขึ้นจึงมี การฝึกอออกเสียงตามเสียง ของคำในภาษาต่างประเทศ  ทำ    ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการ ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารหลายประการ
 
วิไลศักดิ์  กิ่งคำ (2550, หน้า 22    7-230)  กล่าวถึง อิทธิพลของการยืมคำจากภาษาต่างประเทศ  สรุปได้ดังนี้ 
การยืมคำภาษาต่างประเทศเข้          มาปะปนอยู่ในภาษาไทย  มีอิทธิพลทำให้ลักษณะของภาษาไทย เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะ

1. คำมีพยางค์มากขึ้น   ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด  เป็นคำพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก เช่น  เดิน       ตาม  หมา  เมือง  เดือน  ดาว  เป็นต้น   เมื่อมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้  ทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนไป ดังนี้   
      1.1 
มีคำสองพยางค์ เช่น ถนน ราชา บิดา มารดา มาตรา สามารถ  เป็นต้น
      1.2 
มีคำสามพยางค์ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน กรณี โทรทัศน์
            
ปรารถนา เป็นต้น
      1.3 
มีคำมากพยางค์   เช่น   พลานามัย   สาธารณะ  มหาวิทยาลัย   เป็นต้น
     2.
มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น  ภาษาไทยคำพยางค์เดียวส่วนใหญ่จะไม่มีคำที่มีพยัญชนะ
         
ควบกล้ำ  เมื่อยืมคำต่างประเทศมาใช้  ทำให้มีคควบกล้ำจำนวนมาก  เช่น   ฟรี  ดรีม ปลูก  โปรด เบรก  เกรด  เคลียร์  สปริง  ดรอพ  เครดิต  คลินิก  จันทรา ทฤษฎี ศาสตรา  ปรารถนา แทรคเตอร์เอ็นทรานซ์  ดรัมเมเยอร์ 
      3. 
มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น  ทำให้มีคำศัพท์มีความหมายเหมือนกันเพิ่มขึ้น  ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมกับความต้องการ  เช่น  นก (สกุณา สุโหนก วิหค ปักษา) ม้า (พาชี อาชา สินธพ) ผู้หญิง (สตรี นารี อิตถี กัญญา) ช้าง (หัตถี คชสาร กุญชร กรี) ดวงอาทิตย์ (สุริยา ตะวัน ไถง อุทัย)  ดอกไม้ (สุมาลี ผกา บุษบา)  เป็นต้น
      4. 
ภาษาไทยมีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา  ซึ่งแต่เดิมภาษาไทยมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ มีการสะกดคำตามมาตราแม่สะกด  เมื่อได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ  คำส่วนใหญ่สะกดไม่ตรงตามมาตราเดิม  เช่น  เทนนิส  กอล์ฟ  ฟุตบอล  ราษฎร  รัฐบาล ผนวช  ครุฑ  เป็นต้น
      5. 
ทำให้โครงสร้างของภาษาไทยเปลี่ยนไป   จากข้อสังเกต ดังนี้
           5.1
ไม่ใช้ลักษณนามซึ่งตามปกติแล้วลักษณนามจะเกิดหลังจำนวนนับ  เช่น นักศึกษา คน  พระภิกษุ รูป เป็นต้น  แต่เนื่องจากภาษาต่างประเทศที่ไทยยืมคำมาใช้ไม่มีลักษณนาม เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น จึงทำให้ภาษาไทยใช้ลักษณนามผิดไปด้วย  เช่น สองนักกีฬาได้รับ ชัยชนะ  ประกาศปิด ห้าสิบสาม ไฟแนนซ์  เป็นต้น

            5.2 
ใช้คำและสำนวนภาษาต่างประเทศ   ส่วนมากจะเป็นคำและสำนวนจากภาษาอังกฤษ  เช่น  นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี   เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น  เขาบินไปต่างประเทศเพื่อทำธุรกิจ   เป็นต้น

            5.3 
ใช้คำภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย  ทั้ง ๆ ที่บางคำมีคำในภาษาไทยใช้  บางคนมีรสนิยมพูดภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทย  เช่น  ผมไม่แคร์ (care)  เรื่องนี้ดิฉัไม่มายด์ (mind) หรอกค่ะ  เขาไม่เคลียร์ (clear)  ในเรื่องนี้  ฉันมีโปรเจค (project) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย   เป็นต้น  การรับภาษาต่างประเทศมา ใช้สื่อสารในภาษาไทย   มีทั้งข้อดีและข้อเสีย  คนไทยทุกคนพึงควรระมัดระวัง  ในการนำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย   ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารมา เป็นเวลาอันยาวนาน   การยืมคำภาษาต่างประเทศ เข้ามาใช้โดยวิธีการทับศัพท์   ควรใช้เฉพาะคำที่จำเป็นเท่านั้น  คำใดมีคำไทยใช้หรือมีศัพท์บัญญัติใช้แล้ว  ก็ไม่ควรนำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้อีก  และควรเรียงเรียงถ้อยคำเข้าประโยคเพื่อใช้ ในการสื่อสารตามรูปแบบของภาษาไทย
แบบฝึกหัด
1.
กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
2.
จงยกตัวอย่างคำภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษามลายู
ภาษาชวา  ภาษาญี่ปุ่น ที่นำมาใช้ในภาษาไทย ภาษาละ  5  คำ  
3.
จงยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำที่ยกตัวอย่างภาษาต่าง ๆ  ในข้อ คำละ  1  ประโยค
4.
จงยกตัวอย่างคำแปล ศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ ที่มาจากคำภาษาอังกฤษ

 อย่างละ 10 คำ
5.
จงกล่าวถึงอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ


ไม่มีความคิดเห็น: