วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลักภาษาไทย


หลักภาษาไทย

อักขระวิธี
    ได้แก่  อักษร  แปลว่า  ตัวหนังสือ
ลักษณะอักษร
         เสียงในภาษาไทย  มีอยู่  3  อย่าง คือ
1. เสียงแท้
    ได้แก่  สระ
2. เสียงแปร
   ได้แก่  พยัญชนะ
3. เสียงดนตรี
  ได้แก่  วรรณยุกต์
สระ
เสียงสระ
          ลักษณะเด่นของสระในภาษาไทย คือ  เสียงสั้นยาวของสระ มีความสำคัญทำให้ความหมายของคำต่างกันได้ เช่น แกะ-แก่ เป็นคำที่ต่างกันเพราะคำหนึ่งมีสระสั้น อีกคำหนึ่งมีสระยาว เป็นต้น ซึ่งลักษณะนี้ต่างจากภาษาอื่นๆ อีกหลายภาษาที่เรารู้จัก เช่น ภาษาอังกฤษ และภาษาจีน ในภาษาเหล่านี้คำๆ เดียวกันจะออกสียงสระของคำให้สั้นหรือยาว ความหมายของคำก็ไม่เปลี่ยนไป
          ภาษาไทยมาตรฐานมีเสียงสระเดี่ยวสั้น ๙ เสียง และยาว ๙ เสียงดังนี้
          มีสระผสมอีก ๓ เสียง คือ เ-ีย เ-ือ และ -ว สระผสมนี้เสียงสั้นและยาวไม่มีความสำคัญเหมือนกับในสระสั้น กล่าวคือ คำที่มีสระผสมเราอาจออกเสียงให้สั้นหรือยาวก็ได้ โดยคำไม่เปลี่ยนความหมายไป แต่ในภาษาเขียนเราสามารถแสดงถึงความแตกต่างของสระสั้นและยาวได้ ดังนี้
          ๑. เ-ียะ  เช่น เกี๊ยะ เปี๊ยะ                       เ-ีย  เช่น เสีย เลี้ยง
          ๒. เ-ือะ                                           เ-ือ  เช่น เรือ เชื่อง
          ๓. -ัวะ                                            -ัว   เช่น หัว กลัวรูปสระ
รูปสระ คือ ส่วนประกอบของเครื่องหมายที่ใช้เขียนแทนเสียงสระ มีทั้งหมด ๒๑ รูป ซึ่งมีชื่อ วิธีการเขียนและวิธีใช้ดังนี้
๑. ะ (วิสรรชนีย์) ใช้เป็นสระอะเมื่ออยู่หลังพยัญชนะ เช่น ปะ กะ และใช้ประสมกับสระรูปอื่น ให้เป็นสระอื่น เช่น เตะ แตะ โต๊ะ เอียะ อัวะ
๒. -ั (ไม้ผัด, ไม้หันอากาศ) ใช้เขียนบนพยัญชนะแทนเสียงสระอะเมื่อมีตัวสะกด เช่น มัด และประสมกับสระรูปอื่น เช่น ตัว ผัวะ
๓. -็ (ไม้ไต่คู้) ใช้ เขียนไว้บนพยัญชนะที่ประสมกับรัสสระที่มีวิสรรชนีย์ เพื่อแทนวิสรรชนีย์เมื่อมีตัวสะกด เช่น เจ็ด (เจะ+ด) และใช้แทนสระเอาะที่มีวรรณยุกต์โท ที่มีคำเดียวคือคำว่า ก็ (เก้าะ)
๔. า (ลากข้าง) ใช้เป็นสระอา สำหรับเขียนหลังพยัญชนะและใช้ประสมกับรูปสระรูปอื่นเป็นสระ เอาะ อำ เอา เช่น เกาะ ลำเพา
๕. -ิ (พินทุ์อิ) ใช้เป็นสระอิ สำหรับเขียนไว้บนพยัญชนะ เช่น ซิ ผลิ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระ อี อือ เอียะ เอีย เอือะ เอือ เช่น ผี คือ เกี๊ยะ เสีย เสือ
๖. -่ (ฝนทอง) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิ ทำให้เป็นสระอี เช่น ผี มี ปี
๗. " (ฟันหนู) ใช้เขียนไว้ข้างบนพินทุ์อิเป็นสระอือ เอือะ เอือ เช่น มือ เสือ
๘. -ํ (หยาดน้ำค้าง, นฤคหิต) ใช้เขียนไว้ข้างบนลากข้าง ทำให้เป็นสระอำ ( ำ) และเขียนบนพินทุ์อิเป็นสระอึ เช่น จำนำ ปรึกษา ศึกษา
๙. -ุ (ตีนเหยียด) ใช้เป็นสระอุ เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะ เช่น ดุ
๑๐. -ู (ตีนคู้) ใช้เป็นสระอู เขียนไว้ข้างล่างตรงเส้นหลังของพยัญชนะต้น เช่น ปู งู ดู
๑๑. เ- (ไม้หน้า) ใช้เป็นสระเอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น เกเร ถ้าใช้สองรูปด้วยกันจะเป็นสระแอ และใช้ประสมกับสระรูปอื่นให้เป็นสระอื่น เช่น เอือ เอา เออะ เอียะ เอีย เอาะ แอะ
๑๒. ใ- (ไม้ม้วน) ใช้เป็นสระใอ สำหรับเขียนไว้หน้าพยัญชนะ เช่น ใคร ใต้ ฯลฯ
๑๓. ไ- (ไม้มลาย) ใช้เป็นสระไอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น ไฟไหม้ ฯลฯ
๑๔. โ- (ไม้โอ) ใช้เป็นสระโอ สำหรับเขียนไว้ข้างหน้าพยัญชนะ เช่น โมโห ใช้ประสมกับวิสรรชนีย์ทำให้เป็นสระ โอะ เช่น โละ โปะ
๑๕. ฤ (ตัวรึ)ใช้ เป็นสระ ฤ จะใช้โดดๆ เช่น ฤดี หรือจะใช้ประสมกับพยัญชนะ (ต้องเขียนไว้หลังพยัญชนะ) และออกเสียงสระได้หลายเสียง ออกเสียงเป็น ริ เช่น กฤษณา ออกเสียงเป็น รึ เช่น ฤดู ฤทัย พฤกษ์ ออกเสียงเป็น เรอ เช่น ฤกษ์
๑๖. ฤๅ (ตัวรือ) ใช้เป็นสระ ฤๅ ใช้โดดๆ เช่น ฤๅไม่ หรือใช้เป็นพยางค์หน้าของคำ เช่น ฤๅดี
๑๗. ฦ (ตัวลึ) ใช้เป็นสระ ฦ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๘. ฦๅ (ตัวลือ) ใช้เป็นสระ ฦๅ (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว)
๑๙. ย (ตัวยอ) ใช้ประสมกับสูปสระรูปอื่น ทำให้เป็นสระอื่น เช่น สระเอีย เอียะ
๒๐. ว (ตัววอ) ใช้ประสมกับสระรูปอื่น เป็นสระ อัวะ อัว
๒๑. อ (ตัวออ) ใช้เขียนหลังพยัญชนะเป็นสระ ออ และประสมกับรูปสระรูปอื่น เป็นสระ อือ เออะ เอือะ เอือ
วิธีใช้สระ
เมื่อพยัญชนะประสมกับสระและมีตัวสะกด จะมีวิธีใช้สระหลายวิธี ดังนี้
๑. คงรูป คือเขียนรูปสระให้ปรากฏครบถ้วน ได้แก่ -า , -, -, -, -, -, เ- , แ- , โ- , -, เ -ีย , เ -อ
ก + -า + ง = กาง
ด + - ิ + น = ดิน
ห + -อ + ม = หอม
ม + แ- + ว = แมว
๒. แปลงรูป คือ แปลงสระเดิมให้เป็นอีกรูปหนึ่ง ได้แก่ -ะ , เ-ะ , แ-ะ , เ-อ
ร + -ะ + บ = รับ (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ)
ล + เ-ะ + ก = เล็ก (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม่ไต่คู้)
ข + แ-ะ + ง = แข็ง (แปลงวิสรรชนีย์เป็นไม้ไต่คู้)
ด + เ-อ + น = เดิน (แปลงตัวออเป็นพินทุ์อิ)
๓. ลดรูป คือไม่ต้องเขียนรูปสระให้ปรากฏ หรือปรากฏบางส่วนแต่ยังคงต้องออกเสียงให้ตรงกับรูปสระที่ลดนั้น การลดรูปมี ๒ วิธีคือ
      ๓.๑ ลดรูปทั้งหมด ได้แก่ โ-ะ, -อ เช่น
                  บ + โ-ะ + ก = บก
                  ก + -อ + ร = กร (เมื่อมีตัว ร สะกดเท่านั้น)
      ๓.๒ ลดรูปบางส่วน ได้แก่ สระที่ลดรูปไม่หมดเหลือไว้บางส่วน เช่น
                  ค + เ-อ + ย = เคย (เมื่อตัว ย สะกด จะลดรูปตัว อ เหลือไว้แต่ไม้หน้า เช่น เชย เชย เลย เกย เอย เนย เงย )
                  ส + - ั ว + น = สวน (ลดไม้หันอากาศ คงเหลือไว้แต่ตัว ว เช่น กวน ลวน นวล ชวน ควร มวน อวน หวน)
๔. เติมรูป คือ เพิ่มรูปนอกเหนือจากที่มีอยู่แล้ว ได้แก่  -ื   ที่ใช้ ในแม่ ก กา จะเติม -อ เช่น
ม +  -ื    = มือ
ค +  -ื     = คือ (บางท่านเรียก อ ว่า อ เคียง)
๕. ลดรูปและแปลงรูป
ก + เ-าะ +   -้ = ก็
ล + เ-าะ + ก = ล็อก
สระที่มีตำแหน่งอยู่บนหรือล่างของพยัญชนะ ต้องเขียนตรงกับเส้นหลังของพยัญชนะต้นเสมอ
ตำแหน่งรูปสระ
รูปสระ ๒๑ รูป เมื่อประสมกับพยัญชนะต้น จะวางไว้ในตำแหน่งที่ต่าง ๆ ดังนี้
๑. สระหน้า เป็นสระที่วางอยู่หน้าพยัญชนะต้น เช่น เ- แ- โ- ไ- ใ-
ตัวอย่างเช่น เกเร แม่ แก่ โต ไม้ ใช้ ใกล้
๒. สระหลัง เป็นสระที่วางอยู่หลังพยัญชนะต้น เช่น -ะ -า -อ ฤ -ว
ตัวอย่างเช่น พระ มารดา พ่อ ฤกษ์ กวน
๓. สระบนหรือสระเหนือ เป็นสระที่วางอยู่บนพยัญชนะต้น เช่น -ั -ิ -ี -ึ -ื -็
ตัวอย่างเช่น กัด กิน ขีด ปรึกษา ขืน ก็
๔. สระใต้หรือสระล่าง เป็นสระที่วางไว้ใต้พยัญชนะต้น เช่น -ุ -ู ตัวอย่างเช่น หมู หนู ดุ พลุ
๕. สระหน้าและหลัง เป็นสระที่วางไว้หน้าและหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-า แ-ะ โ-ะ เ-ะ เ-าะ เ-อะ เ-อ
ตัวอย่างเช่น เมาเหล้า เจอะเจอ โต๊ะ เละเทะ เกาะเงาะเยอะแยะ
๖. สระบนและหลัง เป็นสระที่วางไว้บนและหลังพยัญชนะต้น เช่น -ัวะ -ัว -ำ
ตัวอย่างเช่น ลัวะ กลัว จำนำ
๗. สระหน้า บนและหลัง เป็นสระที่วางอยู่หน้า บน และหลังพยัญชนะต้น เช่น เ-ียะ เ-ย เ-ือะ เ-ือ
ตัวอย่างเช่น เกี๊ยะ เมีย เสือ
๘. สระหน้าและบน เป็นสระที่วางไว้หน้าและบนพยัญชนะต้น เช่น เ-ิ เ-็
ตัวอย่างเช่น เกิด เกิน เป็ด เช็ด
๙. สระที่อยู่ได้ตามลำพัง ไม่ต้องประสมกับพยัญชนะต้น เช่น ฤ ฤ
                                                         พยัญชนะ
รูปพยัญชนะ
   มี 44 ตัว  คือ
1. อักษรสูง
  มี  11  ตัว  คือ                         
2. อักษรกลาง  มี 9   ตัว                 
3. อักษรต่ำ
   มี  24  ตัว  คือ  
      3.1  อักษรคู่  คืออักษรต่ำที่เป็นคู่กับอักษรสูง มี 14  ตัว   คือ           ฌ ซ  ฑ  ฒ ท ธ       
      3.2 อักษรเดี่ยว   คืออักษรต่ำที่ไม่มีอักษรสูงเป็นคู่กัน  มี  10  ตัว คือ                    
เสียงพยัญชนะ
          เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมาตรฐานมี ๒๑ เสียงแต่มี ๔๔ รูป ดังอาจจัดเป็นกลุ่มตามตำแหน่งลิ้นในช่องปากที่เหมือนกันโดยไม่คำนึงถึงเสียงวรรณยุกต์ในชื่ออักษร ดังนี้
          ๑. ก
          ๒. ข   ฃ   ค   ฅ   ฆ
          ๓. ง
          ๔. จ
          ๕. ฉ  ช  ฌ
          ๖. ซ  ส  ศ  ษ
          ๗. ญ  ย
          ๘. ฐ  ถ  ท  ธ  ฑ  ฒ
          ๙. ณ  น
          ๑๐. ด  ฎ
          ๑๑. ต  ฏ
          ๑๒. บ
          ๑๓. ป
          ๑๔. ผ  พ  ภ
          ๑๕. ฝ ฟ
          ๑๖. ม
          ๑๗. ร
          ๑๘. ล  ฬ
          ๑๙. ว
          ๒๐. ห  ฮ
          ๒๑. อ
          ตัว "ข   ฃ   ค   ฅ   ฆ" เขียนต่างกัน แต่ตำแหน่งลิ้นในขณะออกเสียงเหล่านี้เหมือนกันในทำนองเดียวกัน ตัว "ฉ ช ฌ" ก็มีตำแหน่งลิ้นเหมือนกัน และตัวอักษรในกลุ่มต่างๆ ที่มีมากกว่าหนึ่งตัวขึ้นไป ก็มีตำแหน่งลิ้นเหมือนกับอักษรอื่นในกลุ่มเดียวกัน
          ในแง่ของการออกเสียง มีเสียงตัว "ร" เพียงเสียงเดียวที่แสดงว่ากำลังมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกล่าวคือ การออกเสียงนี้ไม่สม่ำเสมอเหมือนเสียงพยัญชนะอื่นๆ เสียง "ร" นี้ คนจำนวนมากออกเสียงเป็นเสียง "ล" เช่น เรือ รู้ ออกเสียงเป็นเลือ ลู้ และบางครั้งมีผู้ที่ออกเป็นเสียง "ร" บางครั้งก็ออกเป็นเสียง "ล" การออกเสียงไม่สม่ำเสมอในทำนองนี้ ปรากฏทั้งในสภาพการที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ กล่าวคือ แม้บางครั้งผู้ใช้ภาษาจะตระหนักถึงความเหมาะสมที่จะต้องออกเสียง "ร" ให้ถูกต้อง แต่ผู้ใช้ภาษาก็ยังออกเสียงเป็น "ล" ในบางครั้งเพราะไม่สามารถควบคุมการออกเสียงได้ทุกครั้ง ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะการออกเสียงนี้กำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนแปลง ในภาษาไทยถิ่นอื่นหลายถิ่น เสียง "ร" แบบนี้ได้กลายเป็นเสียงอื่นไปแล้ว แต่ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าเสียง "ร" จะต้องกลายเป็นเสียง "ล" ในภาษาไทยมาตรฐานด้วยเช่นกัน การที่ภาษาเขียนยังมีตัว "ร" อยู่ การสอนให้ออกเสียงตามตัวเขียนในโรงเรียน และความรู้สึกว่าการออกเสียงให้ถูกต้องเหมือนภาษาเขียนเป็นสิ่งที่จำเป็นอาจเป็นสิ่งที่ทำให้ยังมีการออกเสียงตัว "ร" อยู่ในภาษาไทยมาตรฐานต่อไป ในภาษาของคนไทยบางกลุ่ม การออกเสียงไม่สม่ำเสมอแบบนี้มีอยู่ในการออกเสียงควบกล้ำด้วย
          เสียงพยัญชนะควบกล้ำในภาษาไทยมาตรฐานมีทั้งหมด ๑๒ เสียง ดังนี้
          ๑. กร-
          ๒. กล-
          ๓. กว-
          ๔. ขร-  คร-
          ๕. ขล-  คล-
          ๖. ขว-  คล-
          ๗. ตร-
          ๘. ทร-
          ๙. ปร-
          ๑๐. ปล-
          ๑๑. พร-
          ๑๒. พล-  ผล-
          ในบรรดาเสียง ๑๒ กลุ่มนี้ มีเพียง ๒ กลุ่มเท่านั้น ที่ผู้ใช้ภาษาไทยมาตรฐานออกเสียงได้สม่ำเสมอ คือ กลุ่มที่ ๓ และ ๖ ที่เหลือผู้ใช้ภาษาบางครั้งออกเสียงควบกล้ำ "ร" เป็น "ล" หรือไม่ออกเสียงควบกล้ำเลย
วรรณยุกต์
วรรณยุกต์  มี  4  รูป  ได้แก่
              1. ไม้เอก
              2. ไม้โท
              3. ไม้ตรี
              4. ไม้จัตวา

เสียงวรรณยุกต์ที่ใช้อยู่ในภาษาไทย
  มี   5  เสียง
               1. เสียงสามัญ   คือเสียงกลาง ๆ เช่น กา  มา  ทา  เป็น  ชน  
               2. เสียงเอก  ก่า  ข่า  ป่า  ดึก   จมูก  ตก  หมด
               3. เสียงโท  เช่น  ก้า  ค่า   ลาก  พราก  กลิ้ง  สร้าง
               4. เสียงตรี  เช่น  ก๊า  ค้า  ม้า  ช้าง  โน้ต  มด
               5. เสียงจัตวา  เช่น  ก๋า  ขา  หมา  หลิว  สวย  หาม  ปิ๋ว   จิ๋ว


คำเป็นคำตาย
คำเป็น  คือ  คือเสียงที่ประสมทีฆสระ (สระเสียงยาว)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กา  กี  กื  กู 
คำตาย
  คือ  คือเสียงที่ประสมรัสสระ (สระเสียงสั้น)  ในแม่ ก  กา  เช่น  กะ  กิ  กุ   

คำสนธิ
   คือ   การต่อคำตั้งแต่สองคำขึ้นไปให้ติดเนื่องกัน   โดยมีการเพิ่มสระในแทรกระหว่างคำ   หรือเพิ่มคำเพื่อติดต่อกันให้สนิท   เช่น
            ปิตุ + อิศ                                  เป็น                              ปิตุเรศ
            ธนู + อาคม                              เป็น                              ธันวาคม
            มหา + อิสี                                เป็น                              มเหสี
คำสมาส   คือ   การนำคำประสมตั้งแต่   2   คำขึ้นไปให้เป็นคำเดียวคำที่ใช้นำมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต   เมื่อรวมกันแล้วความหมายเปลี่ยนไปก็มี, 
                  ความหมายคงเดิมก็มี   เช่น
             ราช + โอรส                            เป็น                             ราชโอรส
             สุธา + รส                                เป็น                             สุธารส
              คช + สาร                               เป็น                              คชสาร
คำเป็น   คือ   พยางค์ทีประสมกับสระเสียงยาวในแม่      กา   และพยางค์ที่มีตันสะกดใน   แม่  กน   กง   กม   เกย   และสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
คำตาย   คือ   พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่      กา   กก   กด   กบ   แต่ยกเว้นสระ   อำ   ไอ   ใอ   เอา
อักษรควบ   คือพยัญชนะ   2   ตัว   ควบกล้ำอยู่ในสระตัวเดียวกัน   เช่น   เพลา   เขมา
อักษรควบแท้   คือคำที่ควบกับ            เช่น    ควาย  ไล่  ขวิด  ข้าง  ขวา             คว้า  ขวาน  มา  ไล่  ขว้าง ควาย  ไป
                                                          ควาย  ขวาง  วิ่ง วน  ขวักไขว่        กวัดแกว่ง ขวาน  ไล่  ล้ม  คว่ำ ขวาง ควาย.
อักษรควบไม่แท้    คือ   อักษร   2   ตัวที่ควบกล้ำกันได้แก่ตัว      แต่ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าแต่ไม่ออกเสียง      หรือบางตัวออกเสียงเปลี่ยนไปเป็นพยัญชนะอื่น
เช่น   เศร้า   ทราย   จริง   ไซร้   ปราศรัย   สร้อย   เสร็จ   เสริม   ทรง   สร้าง   สระ
อักษรนำ   คือ   พยัญชนะ   2   ตัวรวมอยู่ในสระเดียวกัน   บางคำออกเสียงร่วมกันเช่น   หนู   หนอ   หมอ   หมี   อย่า   อยู่   อย่าง   อยาก   หรือบางคำออกเสียงเหมือน   2   พยางค์   เนื่องจากต้องออกเสียงพยัญชนะตัวหน้ารวมกับตัวหลัง   แต่พยัญชนะ   2   ตัว นั้นประสมกันไม่สนิทจึงฟังดูคล้ายกับมีเสียงสระอะดังออกมาแผ่ว ๆ    เช่น
กนก   ขนม   จรัส   ไสว   ฉมวก   แถลง   ฝรั่ง   ผนวก
คำมูล   คือ   คำที่เราตั้งขึ้นเฉพาะคำเดียว   เช่น   ชน   ตัก   คน   วัด   หัด   ขึ้น   ขัด  
คำประสม   คือ   การนำคำมูลมาประสมกันเป็นอีกคำหนึ่ง   เช่น
แม่ + น้ำ     =  แม่น้ำ  แปลว่า   ทางน้ำไหล        
หาง + เสือ   =   หางเสือ แปลว่า   ที่บังคับเรือ 
ลูก + น้ำ       =      ลูกน้ำ
พยางค์   คือ   ส่วนหนึ่งของคำหรือหน่วยเสียงประกอบด้วยสระตัวเดียวจะมีความหมายหรือไม่มีก็ได้   พยางค์หนึ่งมีส่วนประสมต่าง ๆ คือ
1. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์   เช่น   ตา   ดี   ไป   นา
2. พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด  เช่น   คน   กิน   ข้าว   หรือพยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวการันต์   เช่น   โลห์   เล่ห์
3.  พยัญชนะ + สระ + วรรณยุกต์ + ตัวสะกด + ตัวการันต์     เช่น   รักษ์   สิทธิ์   โรจน์
พยางค์แบบนี้เรียกว่า   ประสม  5   ส่วน
วลี   คือ   กลุ่มคำที่เรียงติดต่อกันอย่างมีระเบียบ   และมีความหมายเป็นที่รู้กัน   เช่น
การเรียนหลักภาษาไทยมีประโยชน์มาก
ประโยค   คือ   กลุ่มคำที่นำมาเรียงเข้าด้วยกันแล้วมีใจความสมบูรณ์   เช่น
1. ประโยค   2   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา
                                                       นก                 บิน
2. ประโยค   3   ส่วน                 ประธาน     +     กริยา     +     กรรม
                                                      ปลา                 กิน                มด