วันจันทร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2555

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ

อิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
ทั้งภาษาตะวันออกและภาษาตะวันตก   เข้ามาปะปนอยู่ใน ภาษาไทยเป็นจำนวนมาก  การรับคำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้สื่อสาร ในภาษาไทย และคนไทยได้เรียน ภาษาต่างประเทศตรงมากขึ้นจึงมี การฝึกอออกเสียงตามเสียง ของคำในภาษาต่างประเทศ  ทำ    ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อการ ใช้ภาษาไทยในการสื่อสารหลายประการ
 
วิไลศักดิ์  กิ่งคำ (2550, หน้า 22    7-230)  กล่าวถึง อิทธิพลของการยืมคำจากภาษาต่างประเทศ  สรุปได้ดังนี้ 
การยืมคำภาษาต่างประเทศเข้          มาปะปนอยู่ในภาษาไทย  มีอิทธิพลทำให้ลักษณะของภาษาไทย เปลี่ยนแปลงไปจากลักษณะ

1. คำมีพยางค์มากขึ้น   ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด  เป็นคำพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก เช่น  เดิน       ตาม  หมา  เมือง  เดือน  ดาว  เป็นต้น   เมื่อมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้  ทำให้ภาษาไทยเปลี่ยนไป ดังนี้   
      1.1 
มีคำสองพยางค์ เช่น ถนน ราชา บิดา มารดา มาตรา สามารถ  เป็นต้น
      1.2 
มีคำสามพยางค์ เช่น โทรเลข โทรศัพท์ พาหนะ จักรยาน กรณี โทรทัศน์
            
ปรารถนา เป็นต้น
      1.3 
มีคำมากพยางค์   เช่น   พลานามัย   สาธารณะ  มหาวิทยาลัย   เป็นต้น
     2.
มีคำควบกล้ำใช้มากขึ้น  ภาษาไทยคำพยางค์เดียวส่วนใหญ่จะไม่มีคำที่มีพยัญชนะ
         
ควบกล้ำ  เมื่อยืมคำต่างประเทศมาใช้  ทำให้มีคควบกล้ำจำนวนมาก  เช่น   ฟรี  ดรีม ปลูก  โปรด เบรก  เกรด  เคลียร์  สปริง  ดรอพ  เครดิต  คลินิก  จันทรา ทฤษฎี ศาสตรา  ปรารถนา แทรคเตอร์เอ็นทรานซ์  ดรัมเมเยอร์ 
      3. 
มีคำไวพจน์ใช้มากขึ้น  ทำให้มีคำศัพท์มีความหมายเหมือนกันเพิ่มขึ้น  ซึ่งสะดวกและสามารถเลือกใช้คำได้เหมาะสมกับความต้องการ  เช่น  นก (สกุณา สุโหนก วิหค ปักษา) ม้า (พาชี อาชา สินธพ) ผู้หญิง (สตรี นารี อิตถี กัญญา) ช้าง (หัตถี คชสาร กุญชร กรี) ดวงอาทิตย์ (สุริยา ตะวัน ไถง อุทัย)  ดอกไม้ (สุมาลี ผกา บุษบา)  เป็นต้น
      4. 
ภาษาไทยมีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา  ซึ่งแต่เดิมภาษาไทยมีลักษณะเด่นอย่างหนึ่งคือ มีการสะกดคำตามมาตราแม่สะกด  เมื่อได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ  คำส่วนใหญ่สะกดไม่ตรงตามมาตราเดิม  เช่น  เทนนิส  กอล์ฟ  ฟุตบอล  ราษฎร  รัฐบาล ผนวช  ครุฑ  เป็นต้น
      5. 
ทำให้โครงสร้างของภาษาไทยเปลี่ยนไป   จากข้อสังเกต ดังนี้
           5.1
ไม่ใช้ลักษณนามซึ่งตามปกติแล้วลักษณนามจะเกิดหลังจำนวนนับ  เช่น นักศึกษา คน  พระภิกษุ รูป เป็นต้น  แต่เนื่องจากภาษาต่างประเทศที่ไทยยืมคำมาใช้ไม่มีลักษณนาม เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น จึงทำให้ภาษาไทยใช้ลักษณนามผิดไปด้วย  เช่น สองนักกีฬาได้รับ ชัยชนะ  ประกาศปิด ห้าสิบสาม ไฟแนนซ์  เป็นต้น

            5.2 
ใช้คำและสำนวนภาษาต่างประเทศ   ส่วนมากจะเป็นคำและสำนวนจากภาษาอังกฤษ  เช่น  นวนิยายเรื่องนี้เขียนโดยทมยันตี   เขาได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่น  เขาบินไปต่างประเทศเพื่อทำธุรกิจ   เป็นต้น

            5.3 
ใช้คำภาษาต่างประเทศปนกับภาษาไทย  ทั้ง ๆ ที่บางคำมีคำในภาษาไทยใช้  บางคนมีรสนิยมพูดภาษาต่างประเทศโดยเฉพาะภาษาอังกฤษปนกับภาษาไทย  เช่น  ผมไม่แคร์ (care)  เรื่องนี้ดิฉัไม่มายด์ (mind) หรอกค่ะ  เขาไม่เคลียร์ (clear)  ในเรื่องนี้  ฉันมีโปรเจค (project) ในการพัฒนามหาวิทยาลัย   เป็นต้น  การรับภาษาต่างประเทศมา ใช้สื่อสารในภาษาไทย   มีทั้งข้อดีและข้อเสีย  คนไทยทุกคนพึงควรระมัดระวัง  ในการนำภาษาต่างประเทศมาใช้ในภาษาไทย   ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ ที่คนไทยใช้ติดต่อสื่อสารมา เป็นเวลาอันยาวนาน   การยืมคำภาษาต่างประเทศ เข้ามาใช้โดยวิธีการทับศัพท์   ควรใช้เฉพาะคำที่จำเป็นเท่านั้น  คำใดมีคำไทยใช้หรือมีศัพท์บัญญัติใช้แล้ว  ก็ไม่ควรนำภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้อีก  และควรเรียงเรียงถ้อยคำเข้าประโยคเพื่อใช้ ในการสื่อสารตามรูปแบบของภาษาไทย
แบบฝึกหัด
1.
กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้ภาษาต่างประเทศเข้ามาปะปนในภาษาไทย
2.
จงยกตัวอย่างคำภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษามลายู
ภาษาชวา  ภาษาญี่ปุ่น ที่นำมาใช้ในภาษาไทย ภาษาละ  5  คำ  
3.
จงยกตัวอย่างประโยคที่ใช้คำที่ยกตัวอย่างภาษาต่าง ๆ  ในข้อ คำละ  1  ประโยค
4.
จงยกตัวอย่างคำแปล ศัพท์บัญญัติ และคำทับศัพท์ ที่มาจากคำภาษาอังกฤษ

 อย่างละ 10 คำ
5.
จงกล่าวถึงอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ


ภาษาอังกฤษที่ใช้ในภาษาไทย


ภาษาอังกฤษในภาษาไทย
     ภาษาอังกฤษเป็นภาษาในตระกูลอินโด-ยุโรเปียน มีรูปลักษณะภาษาเป็นภาษามีวิภัตติปัจจัย เช่นเดียวกับภาษาบาลี-สันสกฤต   แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เรียบง่ายขึ้น มีโครงสร้างประโยคคล้ายภาษาไทย  มีระบบเสียงต่างกับภาษาไทยบ้าง  ในขณะ เดียวกันก็มีลักษณะ  บางประการเหมือนภาษาคำโดด และภาษาคำติดต่อปนอยู่   เมื่อภาษาอังกฤษ มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เรียบง่ายขึ้น ภาษาอังกฤษจึงได้รับความนิยมใช้เป็นภาษา เพื่อการสื่อสารมากที่สุด   มีประเทศต่าง ๆ   ยอมรับภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการมากมาย   ภาษาอังกฤษจึงกลาย เป็นภาษาสากลของชาวโลก   คนไทยได้ศึกษาภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองมาเป็นเวลานาน จนภาษาอังกฤษเข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตของคนไทยมากขึ้น   ดังนั้นภาษาอังกฤษ จึงเข้ามามีบทบาทต่อภาษาไทยมาก   คนไทยบางคนนิยมพูดภาษาไทยปนฝรั่งกันอย่างแพร่หลาย วัฒนธรรมฝรั่งก็เข้ามาปะปนในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้น   ค่านิยมของสังคมเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ภาษาไทยก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย  เรายืมคำภาษาอังกฤษมาใช้ โดยการ ทับศัพท์  ทับศัพท์เสียงเปลี่ยนไป  ใช้คำไทยแปล  ใช้คำสันสกฤตแปล  ใช้คำบาลีสันสกฤตหรือคำอังกฤษซ้อนหรือประสมกับคำไทย  และเปลี่ยนความหมาย  (ทองสุก  เกตุโรจน์, 2551, หน้า 108) 
การยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทย
วิธีการยืมคำภาษาอังกฤษมาใช้สื่อสารในภาษาไทยโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ
1.  การแปลศัพท์
การยืมคำภาษาอังกฤษโดยวิธีการแปลศัพท์  หมายถึง  การยืมคำที่เราไม่เคยมีหรือไม่เคยรู้จัก   หรือการกล่าวถึงความคิดหรือนามธรรม   ซึ่งไม่ใช่ความคิดหรือนามธรรมที่เรานึกคิดมาก่อน (ปราณี  กุลละวณิชย์ และอื่น ๆ, 2535, หน้า 67)   การยืมคำโดยวิธีการนี้จะต้องใช้วิธีการคิดแปลเป็นคำภาษาไทยให้มีความหมายตรงกับคำในภาษาอังกฤษ แล้วนำคำนั้นมาใช้สื่อสารในภาษาไทยต่อไป   ดังตัวอย่างเช่น
คำภาษาอังกฤษ
คำภาษาไทย
tea spoon
ช้อนชา
table spoon
ช้อนโต๊ะ
electricity
ไฟฟ้า
electric fan
พัดลม
airplane
เครื่องบิน
typewriter
เครื่องพิมพ์ดีด
war ship
เรือรบ
blackboard
กระดานดำ
black market
ตลาดมืด
short story
เรื่องสั้น
middle-man
คนกลาง
dry cleaning
ซักแห้ง
horse power
แรงม้า
honeymoon
น้ำผึ้งพระจันทร์
loan word
คำยืม
handbook
หนังสือคู่มือ
blacklist
บัญชีดำ
     2.  การบัญญัติศัพท์
                    
การบัญญัติศัพท์เป็นวิธีการยืมคำ  โดยรับเอาเฉพาะความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้นมาสร้างคำขึ้นใหม่ ซึ่งมีเสียงแตกต่างจากคำในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะศัพท์ทางวิชาการจะใช้วิธีการนี้มาก ผู้ที่ทำหน้าที่ในการบัญญัติศัพท์ขึ้นมาใช้ มักจะเป็นนักวิชาการสาขาต่าง ๆ  หน่วยงานราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบ   ในการบัญญัติศัพท์ภาษาไทยขึ้น  ใช้แทนคำยืมจากภาษาต่างประเทศโดยตรง  คือ ราชบัณฑิตยสถาน แต่ก็มีบางคำที่นักวิชาการแต่ละคนหรือแต่ละหน่วยงานบัญญัติศัพท์ภาษาไทยมาใช้แทนคำภาษาอังกฤษไม่ตรงกัน 
               
การยืมคำจากภาษาอังกฤษมาสร้างเป็นคำใหม่   เพื่อใช้สื่อสาร  โดยวิธีการบัญญัติศัพท์ มีมากมาย   ดังตัวอย่าง  เช่น
คำภาษาอังกฤษ
ศัพท์บัญญัติ
telegraph
โทรเลข
telephone
โทรศัพท์
telescope
โทรทรรศน์
television
โทรทัศน์
teletype
โทรพิมพ์
telecommunication
โทรคมนาคม
ecology
นิเวศวิทยา
pedology
ปฐพีวิทยา
reform
ปฏิรูป
globalization
โลกาภิวัตน์
federal state
สหพันธรัฐ
   3.  การทับศัพท์
                    
การทับศัพท์เป็นวิธีการยืมจากภาษาหนึ่ง   มาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยการถ่ายเสียง  และถอดอักษร การยืมคำภาษาอังกฤษ  โดยวิธีการนี้เป็นวิธีการที่ทำได้ง่าย   และปรากฏเด่นชัดที่สุดว่าเป็นคำยืมจากภาษาอังกฤษ   คำยืมจากภาษาอังกฤษโดยวิธีการทับศัพท์มีมากมาย  คำบางคำราชบัณฑิตยสถานได้บัญญัติศัพท์เป็นคำไทยแล้ว แต่คนไทยนิยมใช้คำทับศัพท์มากกว่า  คำทับศัพท์บางคำจึงคุ้นหูผู้รับสารมากกว่าศัพท์บัญญัติ  คำทับศัพท์ภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารโดยทั่วไป    มีตัวอย่างดัง เช่น
คำภาษาอังกฤษ
คำทับศัพท์
graph
กราฟ
captain
กัปตัน
clinic
คลินิก
quota
โควตา
chimpanzee
ชิมแปนซี
draft
ดราฟต์
dinosaur
ไดโนเสาร์
transistor
ทรานซิสเตอร์
technology
เทคโนโลยี
nuclear
นิวเคลียร์
bungalow
บังกะโล
plaster
ปลาสเตอร์
protein
โปรตีน
physics
ฟิสิกส์
cock
ก๊อก
gauze
กอซ
copy
ก๊อบปี้
golf
กอล์ฟ
carat
กะรัต
captain
กัปตัน
gas
ก๊าซ, แก๊ส
card
การ์ด
cartoon
การ์ตูน
guitar
กีตาร์
cook
กุ๊ก
game
เกม

ภาษาอื่น ๆ ในภาษาไทย
นอกจากภาษาบาลี  ภาษาสันสกฤต  ภาษาเขมร  ภาษาจีน  ภาษามลายู  ภาษาชวา  และภาษาอังกฤษ  ดังกล่าวแล้ว  ยังมีถ้อยคำภาษาอื่น ๆ  เข้ามาปะปนอยู่ในภาษาไทยด้วยสาเหตุต่าง ๆ อีกจำนวนหนึ่ง  และเราได้นำถ้อยคำภาษาเหล่านั้นมาใช้สื่อสารกันโดยทั่วไป  ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ภาษา
คำ
ฝรั่งเศส
กงสุล  กรัม  กาเฟอีน  กาสิโน  กิโยตีน  กิโลกรัม กิโลเมตร  กิโลลิตร  ครัวซองต์  คูปอง  ชีฟอง  ปาร์เกต์
ทมิฬ
กระสาย  กะละออม  กะหรี่  กะไหล่  กานพลู  กำมะหยี่  เครา  จงกลนี เจียระไน ตรีปวาย  ตรียัมปวาย
ญี่ปุ่น
กิโมโน  เกอิชา  คาราเต้  ชินโต  ซากุระ ซามูไร  ซูโม  เซน  ปิยาม่า  ยูโด สาเก  สุกียากี้
เปอร์เซีย
กุหลาบ  คาราวาน  ตรา  ตราชู  ตาด  บัดกรี  บัดกรี  ปั้นหยา  ราชาวดี  สรั่ง  สุหร่าย  วิลาด, วิลาศ  องุ่น
อาหรับ
การบูร  มรสุม  มัสยิด  มุสลิม
โปรตุเกส
ปัง  เลหลัง  สบู่
พม่า
กะปิ
มอญ
พลาย